ตำนาน สำเพ็ง เยาวราช

ตำนาน สำเพ็ง เยาวราช ถิ่นที่มีคนจีนอยู่มาก เรียกว่า ตงก๊กเซี้ย (จงกว๋อเฉิน..ไชน่าเทาวว์) เป็นที่เผยแพร่กันทั่วโลก สำหรับในประเทศไทยนั้น ถิ่นที่ เยาวราช, สำเพ็ง, เจริญกรุง, วงเวียนโอเรี่ยน, จรดถึง ตลาดน้อย, จัดเป็นถิ่นที่อยู่อันกว้างขวางของคนจีนแห่งหนึ่งของเมือง บางกอก ชาวต่างชาติ เมื่อกว่าถึง ไชน่าเทาวว์ ต่างยึดมั่นถนนเยาวราช เป็นถนนสายสำคัญ กล่าวกันว่าเป็นถนนสายทองคำของประเทศทีเดียว เนื่องด้วย ถนนเยาวราชนั้น มีร้ายขายทองใหญ่ ๆ หลายแห่งจำนวนมาก กล่าวถึง เยาวราช, สำเพ็ง, และ เจริญกรุง, เป็นถิ่นที่อยู่อาศัยของคนจีนมานมนาน เป็นถิ่นที่อยู่ตั้งรกรากของคนจีนแห่งประเทศสยาม คนจีนนั้น ได้ตั้งรกรากอยู่ทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำ เจ้าพระยา มาตั้งแต่ครั้งสมัยยุคกรุงธนบุรี อยู่มาจนกระทั่งถึงรัชกาลที่ 1 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ พวกเขาจึงถูกพระราชโองการให้โยกย้ายไปอยู่ ณ ตำบลสวน สำเพ็ง กลายเป็นถิ่นที่อยู่อันกว้างขวางของคนจีนไปโดยปริยาย ปัจจุบัน ไชน่าเทาวน์ เป็นแหล่งการค้าขายที่เจริญรุ่งเรือง ซี่งรวมทั้ง บริเวณ คลองถม, สะพานเหล็ก, วังบูรพา, วรจักร, ราชวงศ์, เยาวราช, เจริญกรุง, สามเพ็ง, ทรงวาส และตลาดน้อย ฯ ล ฯ เมือง ไชน่าเทาวน์ ของประเทศไทย เป็นศูนย์รวมแห่งวัฒนธรรม, ขนบประเพณี, ความเชื่อความศรัทธา, ซึ่งมีประวัติความเป็นมาของการหล่อหลอมกันทางวัฒนธรรมระหว่างคนไทยและคนจีนอันยาว นานสำเพ็ง ศูนย์การค้าอันยิ่งใหญ่ของ กรุงเทพ ฯ

คนจีน ยามอพยพเข้ามายัง กรุงเพทฯ เมื่อสมัยรัชกาลที่ 2 ตามลุ่มแม่น้ำสองฟากของแม่น้ำ เจ้าพระยา เดียรดาดไปด้วยครอบครัวของพ่อค้าคนจีนนับหมื่นครอบครัวเรือน เพราะว่ามีท่าเรือสำหรับนำเข้าส่งออกสินค้าจำนวนมาก ขณะนั้น ประเทศไทย(สยาม) มีผลิตผลสินค้าส่งออกจำนวนมาก เช่น พริกไทย, เครื่องเทศ, ข้าว, น้ำตาล, น้ำมันมะพร้าว, ดีบุก, และธัญพืช, ส่วนสินค้าที่นำเข้าก็มี เหล็ก,เครื่องเหล็ก,ผ้าแพรไหมจีน,สบู่,เครื่องเคลือบดินเผา,ใบชา,กาแฟ,และเครื่องสำอาง ฯลฯขณะนั้น ถิ่นย่านการค้าของคนจีน ครอบคุมตั้งแต่ คลองโอ่งอ่าง จรดคลองผดุงกรุเกษม และเนื่องด้วย ตำบลสำเพ็ง เป็นถิ่นที่อยู่ในชั้นแรกของคนจีนสมัย กรุงรัตนโกสินทร์และยังเป็นศูนย์การค้าครั้งแรกของกรุงเทพ ฯ

กล่าวถึงตำบล สามเพ็ง ซึ่งเกี่ยวเนื่องจากพระราชโองการของ สมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก เมื่อปี พ.ศ. 2325 ทรงโปรดให้สร้างพระราชวังบนฝั่งตะวันออกของแม่น้ำ เจ้าพระยา ซึ่งเป็นถิ่นที่อยู่ดั้งเดิมของพระยา โชติรัตน์สิทธิ และคนจีนทั้งหลาย จึ่งทรงโปรดให้โยกย้ายไป ณ วัด สามปลื้ม วัด สามเพ็ง และบริเวณสวน สามเพ็ง
ที่มาข้อมูล(ทั้งหมด) : ไพรัช เฮงตระกูลสิน
รายละเอียดเพิ่มเติม : http://www.manager.co.th

สำหรับคำว่า สามเพ็ง หมายถึงทาง สามแพร่ เข้าใจว่าสมัยนั้นคงที่ที่รวมของทางสามสาย ทางราชการเรียกถนน สามเพ็ง ว่า “ถนนวานิช” ซึ่งแปลว่า ถนนค้าขาย ถนนนี้เดิมกว้าง 5 เมตร ยาว 1.5 กิโลเมตร มีการสร้างประตูกำแพงเมือง สามเพ็ง ประตูเมือง สามเพ็ง นี้ เมื่อประมาณ 50 กว่าปีก่อนได้ถูกรื้อถอน ถนน สามเพ็ง นี้ ได้เริ่มต้นที่คลอง โอ่งอ่าง มาจรดถนน จักวรรดิ์, ถนนราชวงศ์, ถนนทรงวาส, และถนนทรงสวัสดิ์
พ.ศ. 2404 พระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ทรงโปรดให้สร้างถนนเจริญกรุง ต่อมา พ.ศ. 2434 พระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ทรงโปรดให้สร้างถนนระหว่างถนน สามเพ็ง และถนน เจริญกรุง เรียกว่าถนน เยาวราช ถนน เยาวราช เริ่มตั้งแต่ป้อม มหาชัย (วังบูรพา) ไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ เคียงคู่ถนน เจริญกรุง ไปจรดสะพานที่วัด สามจีน (วัดไตรมิตร) เป็นถนนกว้าง 20 เมตร ยาว 1.43 กิโลเมตร มีทางฟุตบาตสำหรับคนเดินกว้าง 3.8 เมตร
ถนนสายสำคัญนี้ เป็นถนนสายแรกของ กรุงเทพ ฯ เป็นที่รวมแหล่งอารยธรรมของคน ไทย – จีน และเป็นถนนสายการค้าหลักของ กรุงเทพ ฯ มีผู้คนมากมายต่างตั้งตัวประกอบความเจริญในสัมมาชีพจวบจนกระทั่งปัจจุบัน

ผู้ที่ควบคุมการก่อสร้างถนน เยาวราช สมัยนั้น ก็คืออธิบดีกรมการก่อสร้างคุณพระ นครสนานุวัติวงศ์ ขณะเดียวกันก็ได้สร้างถนนสายย่อยต่าง ๆ ใน กรุงเทพมหานคร ฯ อีก 18 สาย ถนน เยาวราช สร้างเสร็จกินเวลานานถึง 6 ปี ซึ่งการสร้างถนน เยาวราช นั้น มีการปิดถนนเวนคืนปิดกั้นที่ดินชาวบ้านมากมาย จุดประสงเพื่อทำความเจริญให้แก่ประเทศชาติ แต่ส่วนใหญ่เป็นการสร้างทับที่ทางของผู้ยากจนต่ำต้อยเสียมาก แต่ก็ยังก่อเกิดปัญหายุ่งมากนานับปการ พ.ศ. 2434 ปีแรกของการก่อสร้าง ก็เกิดปัญหาเกี่ยวกับการเวนคืน เป็นเหตุให้ต้องหยุดการก่อสร้างไประยะเวลาหนึ่ง รัฐบาลต้องมาเจรจาไกล่เกลี่ยแต่ละสถานที่ทางที่มีปัญหา จนกระทั่งสามารถเริ่มต้นการสร้างถนนได้ การสร้างถนน เยาวราช สมัยนั้น มีปัญหามากมาย เพราะว่าถนน สามเพ็ง เป็นถนนสายหลักของคนจีนสมัยนั้น การค้าขายสั่งเข้าส่งออกสมัยนั้น สินค้าทุกชนิดต่างร่วมออตุนกันที่ถนน สามเพ็ง และถนน ทรงวาส และเพื่อเป็นการเพิ่มความเจริญการค้าขาย จึ่งมีตลาดการค้าขายเพิ่มขึ้นหลายจุด เช่นที่ ตลาด เล่งบ๋วยเอี๊ย, ตลาดเก่า, ตลาดใหม่, และตลาดน้อย, ฯ ล ฯ ครั้นถึงรัชสมัยรัชกาลที่ 7 ได้มีการรวมศูนย์กลางตลาดการค้าผ้าที่ริมถนน เยาวราช เป็นการอำนวยความสะดวกแก่ผู้ที่ซื้อขาย ซึ่งไม่จำเป็นต้องอาศัยห้างของชาวต่างชาติฝรั่งเป็นที่ค้าขาย ดังนั้น สมัยก่อน ถนน เยาวราช จึ่งเปรียบเสมือนถนนเป็นตลาดนัดสายสำคัญสายหนึ่ง เป็นถนนที่แสนคึกครื้นที่สุดของ กรุงเทพ ฯ ในสมัยนั้น เป็นที่รู้จักกันดีในหมู่ผู้ลากมากดีและชนชั้นต่ำต้อยว่าต้องเป็น สำเพ็ง และ เยาวราช สมัยนั้น ร้านรวงตามถนน เยาวราช เป็นเพียงแค่เพิงเล็ก ๆ ไม่มีร้านรวงเป็นตึกแถวดั่งเช่นสมัยนี้ ต่อมาจึงได้มีการปลูกตึกรามสร้างห้องแถวต่าง ๆ สมัยนั้น ตึกแถวสูงสุดก็ได้แก่ตึก 6 ชั้น และตึก 7 ชั้น ฝั่งตรงข้าม นับว่าเป็นถาวรวัตถุที่ขึ้นชื่อเชิดหน้าชูตาที่สุด ตึกดังกล่าวถูกซื้อโดยเศรษฐีเพื่อการพักผ่อนโดยเฉพาะ มีห้องพักผ่อน ห้องเล่นไพ่ และห้องทานน้ำชา ต่อมา ก็ได้มีการก่อสร้างเป็นตึกอีก 9 ชั้น ซึ่งก็ยังคงเป็นที่พักผ่อนรื่นเริงของมหาเศรษฐี บนตัวตึกจัดตบแต่งด้วย บาร์เหล้า ห้องเต้นรำ ห้องน้ำชา นอกจากนี้ ยังมีฟอร์เต้นรำอันโอ่อ่า เมื่อถึงเวลาเปิดเต้นรำ ก็จะมีนางรำเต้นชวนแขกที่ตัวตึกชั้นล่าง สถานที่บันเทิงนี้เจริญรุ่งโรจน์เต็มที่ จนกระทั่งภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 จึงยุติ